FAQ:
โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar
Charger)
1.จำเป็นที่จะต้องมีโซล่าชาร์จเจอร์ (Control Charger) หรือไม่ ?
หากไม่มีจะใช้แผงโซล่าเซลล์ต่อเข้า Battery โดยตรงได้เลยหรือไม่ ?
ตอบ สามารถทำได้เช่นกัน แต่ไม่ดีอย่างแน่นอน เนื่องจาก
1.กระแสจะไหลจากที่สูงไปที่ต่ำเสมอ(เช่นเดียวกับน้ำ) ดังนั้นในเวลากลางวัน เมื่อแผงโซล่าเซลล์ยังผลิตพลังงานได้กระแสจะไหล
จากแผงโซล่าเซลล์ไปที่แบตเตอรี่ แต่พอพระอาทิตย์ตกกระแสจะไหลย้อนกลับจากแบตเตอรี่มาที่แผงโซล่าเซลล์ ทำความเสียหายกับแผงวงจรได้
2.เมื่อชาร์จไฟจนแบตเตอรี่เต็มแล้วไม่มีการตัดการชาร์จ แบตเตอรี่ลูกนั้นก็จะเสียหายได้ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกฟังก์ชั่นพื้นฐาน
3.โซล่าชาร์จเจอร์จะช่วยควบคุมกระแสชาร์จประจุให้มีความเรียบกว่าการชาร์จประจุตรง
2.โซล่าชาร์จเจอร์แต่ละรุ่นต่างกันอย่างไร ?
ตอบ แต่ละรุ่นจะต่างกันที่ฟังก์ชันการใช้งานและขนาดแอมป์ที่รับได้ และเทคโนโลยีต่างกันเช่น บางรุ่นแม้จะเป็น 12V. 20A. เหมือนกันแต่บางฟังก์ชั่นก็จะต่างกัน มีจอแสดงผล กับไม่มีจอLCD
3.โซล่าชาร์จเจอร์แบบที่มี
LED Driver เป็นอย่างไร ?
ตอบ โซล่าชาร์จเจอร์ โดยปกติจะจ่ายLoad
12V.เท่ากับค่าของแบตเตอรี่ แต่ปัจจุบันหลอดไฟถนนLEDที่ใช้โดยมากจะเป็น
Hi Power LED ที่ต้องการแรงขับที่30-33Vdc.
ทางบริษัทผู้ผลิตโซล่าชาร์จเจอร์จึงนำเอาฟังก์ชันตรงนี้มาใส่ในโซล่าชาร์จเจอร์ด้วย
ทำให้มีการขับLoadที่30-60Vdc.ได้
นั่นหมายความว่าอุปกรณ์หลอดไฟถนนLEDก็จะไม่จำเป็นต้องต่อLED
Driverภายนอกอีกต่อไป
4.จะทราบได้อย่างไรว่าแผงโซล่าเซลล์ขนาดไหนควรใช้โซล่าชาร์จเจอร์รุ่นไหน ?
ตอบ ตัวโซล่าชาร์จเจอร์จะมีค่าจำกัดอยู่ว่ายอมให้กระแสผ่านได้เท่าไหร่ เช่น
โซล่าชาร์จเจอร์ 12V./10A. หมายความว่าชาร์จลงแบต 12V.
ส่วน10A. นั้นไม่ใช่ขนาดแบตเตอรี่ แต่เป็นขนาดโซล่าร์ที่ใช้ได้ แผงโซล่าร์แต่ละขนาดจะมีค่าImp บอกที่ฉลากอยู่แล้วว่าเท่าไหร่
ถ้าค่า Imp นั้นไม่เกิน 10A. ก็เป็นใช้ได้ ถ้าเกินก็ต้องใช้รุ่น20A. เช่นนี้เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากไม่มีค่า Imp บอกไว้ อาจใช้วิธี
คำนวณง่ายๆ เช่น แผงโซล่าเซลล์ 120W. เราอยากทราบว่ากี่แอมป์ก็เพียงเอา 12V.(ที่จริงคือ 17-18V.) ไปหาร ก็จะได้เท่ากับ 10
แสดงว่าไม่เกิน 10A. ก็สามารถใช้รุ่น NSC1210 ได้หรืออาจสรุปเอาง่ายๆได้ว่าแผงไม่เกิน 120W. สามารถใช้กับตัวโซล่าชาร์จเจอร์ 10A. ได้
5 .โซล่าชาร์จเจอร์
PWM และ MPPT ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ โซล่าชาร์จเจอร์ PWM (Pulse Width
Modulation) มีหลักการทำงาน คือ ควบคุมความถี่ของคลื่นไฟฟ้าด้วยระบบดิจิทัล
สามารถควบคุมการไหลเข้าของแรงดันไฟฟ้าลงสู่แบตเตอรี่ได้อย่างเหมาะสมซึ่งช่วยลดปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว
ตัวโซล่าชาร์จเจอร์มีไฟที่คอยแสดงสถานะการทำงานและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา
โซล่าชาร์จเจอร์ MPPT (Maximum Power Point Tracking)
เน้นการทำงานด้วยระบบไมโครโพรเซสเซอร์ และถนอมแบตเตอรี่
โซล่าชาร์จเจอร์ทั้ง PWM และ MPPT มีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
แต่ก็เป็นตัวกลางคอยควบคุมกระแสไฟฟ้าด้วยกันทั้งคู่
ซึ่งท่านสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ก่อนซื้อแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
หรือพนักงานขายของเราก่อน หากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มได้
6.โซล่าชาร์จเจอร์แบบ Auto
on/off หรือ Manual ทำงานอย่างไร ?
ตอบ ฟังก์ชันนี้ใช้กับ DC Load เท่านั้น โดย Auto
on/off คือจะจ่ายไฟ 12V. DC ออกมาแบบอัตโนมัติในเวลาพระอาทิตย์ตก
และหยุดจ่ายเองเมื่ออาทิตย์ขึ้น นั่นหมายถึงถ้าเรามีหลอดไฟ DC 12V.
มาต่อที่ช่องนี้เราสามารถ set ให้มันเปิดปิดไฟเองได้ ส่วนmanual
ก็จะเป็นการจ่าย DC Load ตลอดเวลา แล้วใช้มือเปิดปิดสวิทซ์ไฟเอาเอง
7 .จะมีวิธีพิจารณาเลือกซื้อ โซล่าชาร์จเจอร์ ได้อย่างไร
?
ตอบ
สามารถคลิกอ่านวิธีการเลือกซื้อโซล่าชาร์จเจอร์ ได้ที่นี่ --->
การเลือกซื้อโซล่าชาร์จเจอร์
|